ReadyPlanet.com
ข่าวสาร
หนังสือรับรองสำนักงานบัญชีคุณภาพ
dot

dot
dot
dot


การทำบัญชีเล่มเดียวให้ถูกต้องสำหรับ ธุรกิจซื้อมาขายไปในประเทศ

การทำบัญชีเล่มเดียวให้ถูกต้องสำหรับ ธุรกิจซื้อมาขายไปในประเทศ

          เมื่อกรมสรรพากรได้ออกมาตรการบัญชีเล่มเดียว การยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับ SMEs สำหรับกิจซื้อมาขายไปในประเทศที่สนใจที่จะปฏิบัติตาม ในการทำบัญชีเล่มเดียวให้สรรพากรยอมรับ ซึ่งต้องปฏิบัติตามหลักการบัญชี มาตรฐานบัญชี และภาษีอากให้ครบถ้วนถูกต้อง เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด การจัดทำบัญชีเล่มเดียวจะต้องสอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงของกิจการซึ่งจะทำให้กิจการได้สิทธิได้รับยกเว้นไม่ถูกตรวจสอบบัญชีย้อนหลัง และยังได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลอีกด้วย

          ดังนั้นสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจซื้อมาขายไปในประเทศควรพิจารณาการจัดทำบัญชีเล่มเดียวเพื่อความถูกต้องสอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงของกิจการเพื่อให้สรรพากรยอมรับ ดังนี้

1.การทำบัญชีให้ถูกต้องตามหลักการบัญชี มาตรฐานการบัญชี

1.1 ผู้ทำบัญชี 

 มีคุณสมบัติ และเงื่อนไข ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

 คัดเลือกผู้ทำบัญชีที่ที่มีประสบการณ์ มีประสิทธิภาพการทำงานด้านบัญชีซื้อมาขายไปทั้งระบบ

 จัดให้มีการจัดทำบัญชีตั้งแต่เริ่มประกอบธุรกิจ ตามที่ระบุในการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

 จัดทำบัญชีให้ครบถ้วนและถูกต้องสอดคล้องกับสภาพาพข้อเท็จจริงของกิจการและตามที่กฎหมายกำหนด

 ควบคุมดูแลการทำบัญชีให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี และตรงตามข้อเท็จจริง

1.2 มีระบบบัญชีที่ดีได้แก่

 จะต้องมีการจัดทำบัญชีให้สอดคล้องไปกับธรรมชาติของการปฏิบัติงาน และการดำเนินธุรกิจที่แท้จริงระบบต่างๆ เพื่อลดความผิดพลาด

 ต้องเป็นระบบบัญชีที่มีการควบคุมภายในอย่างดีเยี่ยมสามารถป้องกันการทุจริตอย่างมีประสิทธิภาพ

 ระบบบัญชีที่ดีจะต้องมีข้อมูลที่มีความถูกต้องสอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงของกิจการและสามารถนำเสนอรายงานต่อผู้บริหารได้ตามระยะเวลาที่กำหนด สามารถวัดผลการดำเนินงานเป็นรายโครงการ ได้อย่างถูกต้อง เช่น การบันทึกรายได้ ต้นทุน ค่าใช้จ่ายดำเนิน   งาน ทั้งนี้รวมถึงการวัดมูลค่าทั้งหมดทางด้านภาษี

1.3 มีระบบการจัดเก็บเอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการบันทึกบัญชี ให้สอดคล้องกับระบบบัญชี  

 จัดให้มีเอกสารเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการบันทึกบัญชีให้ถูกต้องและครบถ้วน

 ส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการบันทึกบัญชีให้ผู้จัดทำบัญชี เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของใบสำคัญรับ-จ่าย ฯลฯถูกต้องครบถ้วนเพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้นให้สามารถแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงินหรือการเปลี่ยนแปลง ฐานะการเงินที่เป็นอยู่ตามความเป็น   จริงและตาม มาตรฐานการบัญชี

 ต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารบัญชีเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันปิดบัญชี โดยให้จัดเก็บบัญชีแยกประเภท และเอกสารบัญชี ณ สถานที่ประกอบุรกิจ

1.4 ปิดบัญชีและจัดทำงบการเงิน

 ต้องปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12เดือน นับวันเริ่มทำบัญชี และปิดบัญชีครั้งต่อไปทุกรอบ 12 เดือน นับแต่วันปิดบัยชีครั้งก่อน

 จัดทำงบการเงิน โดยมีรายการย่อตามที่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าประกาศกำหนด

 ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดย CPA

  (เว้นแต่ งบการเงินของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่มีทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท ต้องมีTA ตรวจสอบงบการเงิน)

1.5 การยื่นงบการเงินที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

 ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายไทย ต้องนำส่งงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นแล้วต่อนาย ทะเบียนภายใน 5 เดือนนับแต่วันปิดบัญชี

 บริษัทจำกัด 

 ต้องนำงบการเงินที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้วเสนอเพื่ออนุมัติต่อที่ประชุมใหญ่ภายใน 4 เดือนนับแต่วันปิดบัญชี 

 ต้องนำส่งงบการเงินต่อนายทะเบียนภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติในที่ประชุมใหญ่

 ต้องนำส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นในเวลาที่ประชุม (บอจ.5) ต่อนายทะเบียนภายใน 14วันนับแต่วันประชุมสามัญผู้ถือหุ้น

1.6 การยื่นงบการเงิน และการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคล ( ภ.ง.ด.50 ) ที่กรมสรรพากร

 ภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

 

2.การทำบัญชีให้ถูกต้อง ตามประมวลรัษฎากร

2.1 จะต้องศึกษาการบริหารจัดเก็บภาษีอากรยุคใหม่ของกรมสรรพากร กรมสรรพากรได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำ ระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ National e-Payment Master Plan 5 โครงการดังนี้

โครงการที่ 1 โครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงิน ได้แก่ โครงการบริการพร้อมเพย์ (PromptPay)

 พร้อมเพย์เป็นทางเลือกใหม่ในการโอนเงินและรับเงินของประชาชน ทำให้มีความสะดวกมากขึ้นไม่ต้องขอเลขที่บัญชีของผู้รับโอนค่าธรรมเนียมถูกกว่าบริการโอนเงินข้ามธนาคารแบบเดิม 

 มีเป้าหมายรองรับการโอนเงินผ่าน 5 ประเภท ID ได้แก่ เลขประจ าตัวบัตรประชาชน, หมายเลขโทรศัพท์มือถือ, เลขที่บัญชีธนาคาร, กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet ID) และ อีเมลล์(e-Mail Address)

 ลดข้อจำกัดของระบบปัจจุบัน และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้แก่ภาคส่วนต่าง ๆ

โครงการที่ 2 บัตรอิเล็กทรอนิกส์เป็นการขยายการใช้บัตร

 ขยายการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ และ ขยายอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์

 ช่วยให้ประชาชน ภาคธุรกิจ และภาครัฐ สามารถเข้าถึงและใช้บริการชำระเงินผ่านบัตรอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นสื่อการชำระเงินที่สะดวก พกพาง่าย และประชาชนคุ้นเคยมากกว่าสื่ออื่น ๆ

 ช่วยลดการใช้เงินสดในชีวิตประจำวันของประชาชน ลดภาระในการดูแลและตรวจนับเงินของผู้รับเงิน ลดต้นทุนในการบริหารจัดการและขนส่งเงินสดของภาคธนาคาร

โครงการที่ 3 ภาษีอิเล็คทรอนิกส์ VAT, WHT e-Tax Invoice

 บูรณาการระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำและนำส่งเอกสารพาณิชย์

 อำนวยความสะดวกให้ผู้เสียภาษีในการจัดการเรื่องภาษีแก่ผู้เสียภาษีอำนวยความสะดวกและรวดเร็วในการชำระภาษี และคืนเงินภาษีผ่านบริการ PromptPay

 ลดต้นทุน ระยะเวลา และขั้นตอนในการจัดทำเอกสารและการชำระภาษี

 ยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้สะดวกรวดเร็วผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

 จัดทำและจัดส่งใบกำกับภาษีและใบรับทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อรองรับการค้าแบบไร้พรมแดน

โครงการที่ 4 e-Payment ภาครัฐ สวัสดิการ/เงินช่วยเหลือการรับจ่ายเงินภาครัฐจ่ายสวัสดิการภาครัฐแก่ประชาชนผ่านเลขบัตรประชาชนที่ได้ลงทะเบียนไว้

 พัฒนาการรับจ่ายเงินภาครัฐด้วย e-Payment

 บูรณาการฐานข้อมูลกลางในการให้ความช่วยเหลือประชาชน รวมถึงผู้มีรายได้น้อย

โครงการที่ 5 ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้และมาตรการจูงใจส่งเสริมการเข้าสู่e-Payment

 ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชน เพื่อส่งเสริมการใช้ e-Payment

 ภาครัฐออกมาตรการจูงใจ เพื่อกระตุ้นการใช้ e-Payment แทนเงินสดและเช็ค จะต้องทำบัญชีธุรกิจซื้อมขายไปให้ถูกต้องครบถ้วนในเรื่องของภาษีอากรการรับรู้รายการทางบัญชี ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 (ปรับปรุง 2558) เรื่องสินค้าคงเหลือ

1.ประเภทของสินค้าคงเหลือ แบ่งออกเป็น  2 ลักษณะ คือ

 กรณีธุรกิจซื้อมาขายไป ได้แก่ สินค้าที่กิจการซื้อมา และถือไว้เพื่อขายต่อ

 กรณีกิจการผลิตเพื่อขาย ได้แก่ สินค้าสำเร็จรูป สินค้าระหว่างผลิต วัตถุดิบ หรือวัสดุเพื่อใช้ในการผลิต

2.ต้นทุนของสินค้าคงเหลือ(ราคาทุน)ประกอบด้วย DM+DL+OH 

 ต้นทุนในการซื้อ (Cost of Purchase หรือ Direct Materials)-ต้นทุนแปลงสภาพ (Cost of Conversion) เป็นต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ได้แก้ ค่าแรงทางตรง (Direct Laor) ค่าใช้จ่ายในการผลิต (Overheads)

 ต้นทุนอื่นๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อให้สินค้าคงเหลือนั้นอยุ่ในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

3.การวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ

 สินค้าคงเหลือต้องวัดมูลค่าด้วยราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ำกว่า

4.การรับรู้เป็นต้นทุน

 เมื่อมีการขายสินค้าคงเหลือออกไป มูลค่าตามบัญชีของสินค้าคงเหลือนั้นต้องรับรู้เป็นต้นทุนขายในงวดที่มีการรับรู้รายได้ที่เกี่ยวข้อง

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

1.รับรู้รายได้ ต้นทุนขายสินค้า และค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ตามเกณฑ์สิทธิ์ (มาตรา 65 )

2.ราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้คำนวณตามราคาทุนหรือราคาตลาด แล้วแต่ราคาใดจะน้อยกว่า และให้ถือราคานี้เป็นสินค้าคงเหลือยกมาสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีใหม่ด้วย(มาตรา 65 ทวิ(6))

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

1.กรณีซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบ

ผู้จ่ายเงิน(ผู้ซื้อ) จ่ายสำหรับหารซื้อสินค้า ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้แก่ผู้รับเป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 0.75

ประเภทสินค้า ประเภทผู้ซื้อ(ผู้จ่ายเงินได้)

ยางแผ่นหรือยางชนิดอื่นอันผลิตขึ้นหรือได้มาจากส่วนใดๆของต้นยางพารา ผู้ส่งออกหรือผู้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจากยางดังกล่าว ไม่ว่าจะใช้ยางนั้นเป็นส่วนใหญ่หรือไม่

มันสำปะหลัง ผู้ส่งออก

ปอ ผู้ส่งออกหรือผู้ผลิตกระสอบป่าน ผ้ากระสอบป่าน ด้ายทอกระสอบป่าน เชือกหรือผลิตภัณฑ์ใดๆ ที่ผลิตจากปอ ไม่ว่าจะใช้ปอนั้นเป็นส่วนใหญ่หรือไม่

ข้าวโพด ผู้ส่งออกหรือผุ้ผลิตน้ำมันพืชหรืออาหารสัตว์ทุกชนิด

อ้อย ผู้ผลิตน้ำตาลทุกชนิด

เมล็ดกาแฟ ไม่ว่าจะขั้วแล้วหรือไม่ ผู้ส่งออกหรือผู้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจากกาแฟ

ผลปาล์มน้ำมันไม่ว่าเป้นส่วนใดของผล ผู้ผลิตน้ำมันปาล์มหรือผู้ผลิตน้ำมันพืช

ข้าว(หมายความว่า ข้าวสาร ปลายข้าว ข้าวกล้อง ปลายข้าวกล้อง ข้าวนึ่ง และปลายข้าวนึ่งทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นข้างจ้าวหรือข้าวเหนียว) ผู้ส่งออก

2.กรณีจ่ายค่าแรงทางตรง

2.1. กรณีจ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงานของกิจการตามมาตรา40(1) โดยพิจารณาเนื้อหาการจ้างในสัญญาจ้างแรงงานตามมาตรา 575 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือค่าจ้างทำของตามมาตร40(2) ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย (มาตรา50(1)) ดังนี้

 ให้คำนวณหาเงินได้พึงประเมินเสมือนหนึ่งได้จ่ายทั้งปี โดยให้นำเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวคูณด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย(ต่อปี)

 ให้นำจำนวนเงินได้พึงประเมินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปีตาม(1)มาหักค่าใช้จ่าย/ค่าลดหย่อน และคำนวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคลธรรมดาเป็นเงินภาษีทั้งสิ้น

 ให้นำจำนวนเงินภาษีทั้งสิ้นที่คำนวณได้ตาม(2) มาหารด้วยจำนวนคราวที่ต้องจ่าย(ต่อปี)ตาม(1) ได้ผลลัพธ์ เป็นจำนวนเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษี ณ ที่จ่าย ในแต่ละคราวที่จ่ายเงินนั้น

2.2. กรณีจ่ายค่าจ้างทำของตามมาตรา40(6)(7) และ(8)ให้แก่บุคคลอื่นหรือนิติบุคคลโดยพิจารณาเนื้อหาการจ้างในสัญญาจ้างทำของตามมาตรา587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์

 ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ3.0(ตามมาตรา 3เตรส และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ ข้อ8)

3.กรณีจ่ายค่าใช้จ่ายในการผลิต ตามมาตรา40(6)(7) และ(8) ที่มีลักษณะเป็นค่าจ้างทำของตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ ต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0

ภาษีมูลค่าเพิ่ม 

1.กรณีซื้อสินค้าวัตถุดิบจากผู้ขายที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกิจการต้องเรียกใบกำกับภาษีจากผู้ขาย โดยวันที่ในใบกำกับภาษีต้องระบุวันที่ตามวันรับมอบสินค้า หรือวันที่ได้ชำระเงิน หรือวันที่ออกใบกำกับภาษี แล้วแต่กรณีใดจะเกิดก่อน

2. กรณีจ่ายค่าบริการให้แก่ผู้ให้บริการที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกิจการต้องเรียกใบกำกับภาษีจากผู้ให้บริการ โดยวันที่ในใบกำกับภาษีต้องระบุวันที่ตามวันรับมอบสินค้า หรือวันที่ได้ชำระเงิน หรือวันที่ออกใบกำกับภาษี แล้วแต่กรณีใดจะเกิดก่อน

3. จัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม (มาตรา87 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่89)) ได้แก่

  3.1. รายงานภาษีซื้อ

 ให้ลงรายการภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับใบกำกับภาษี

3.2. รายงานสินค้าคงเหลือ และวัตถุดิบ (ไม่รวมถึงกิจการให้บริการ)

 ให้ลงรายการภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่รับมาซึ่งสินค้าและวัตถุดิบ ตามปริมาณสินค้าและวัตถุดิบที่รับมา โดยจัดให้มี เอกสารประกอบการลงรายงานเป็นใบสำคัญรับสินค้า

อากรแสตมป์

 กรณีค่าจ้างอื่นที่เกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ หากมีการทำสัญญาว่าจ้างทำของตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์

 ผู้รับจ้างต้องเสียอากรแสตมป์ ตามลักษณะแห่งตราสารที่ 4 จ้างทำของโดยคำนวณจากทุก 1,000 บาทหรือเศษของบ 1,000 บาทแห่งสินจ้างที่กำหนดไว้ ต้องติดอากรแสตมป์ 1 บาท

 

ที่มาของข้อมูล

1.คู่มือภาษีอากร เรื่องจัดทำบัญชีอย่างไร ให้เป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษี โดยกรมสรรพากร

2.มาตรการบัญชีเล่มเดียว โดยกรมสรรพากร


บริษัท บัญชีสยามออนไลน์ จำกัด

(เดิมบริษัท สำนักงาน เอ.ที.เอส.การบัญชี จำกัด)

รับจดทะเบียนบริษัท รับทำบัญชี ด้วยโปรแกรมบัญชีออนไลน์ รับตรวจสอบบัญชี อบรมและฝึกงานบัญชี

สนใจ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

อาจารย์ปัญญา ศุกลินวนิช โทร 065-449-1925

 คุณฐิติรัชต์  รังสรรค์รุ่งกิจ  โทร 096-656-9162

Tel : 02-9640061, 02-9640062

Website : www.atsaccounting.co.th

E-mail : p.sukalinwanit@gmail.com




บทความวิชาการบัญชี

วิธีทำบัญชีขายของออนไลน์อย่างถูกต้อง ป้องกันการเรียกตรวจสอบภาษีจากกรมสรรพากร
การวางแผนทำบัญชีเพื่อเสียภาษีคริปโตเคอร์เรนซี่หรือโทเคนดิจิทัล ปี 2567
ตรวจสอบบัญชีประจำปีแล้วดีอย่างไร ?
การซื้อทรัพย์สินและรายจ่ายเกี่ยวกับการซื้อหรือขายทรัพย์สินในส่วนที่เกินปกติโดยไม่มีเหตุอันสมควร
เงินที่บริษัทส่งไปสมทบให้บริษัทในต่างประเทศซึ่งร่วมลงทุนถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
ผลขาดทุน จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
บริษัทตัวแทนในต่างประเทศได้ทดลอง จ่ายค่าจ้าง และภาษีไปก่อน ค่าใช้จ่ายดังกล่าวถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
รายจ่ายก่อนตั้งบริษัท ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
ภาษีเงินได้ที่ออกให้พนักงานในต่างประเทศ ถือเป้นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
ภาษีซื้อที่เกิดจากการเช่าสำนักงาน ถือเป็นภาษีซื้อของบริษัทได้หรือไม่
การทำบัญชีในยุค AI: บทความแนะนำสำหรับเจ้าของธุรกิจออนไลน์
การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้
เงินอุดหนุนที่องค์กรต่างๆให้มาเพื่อช่วยเหลืองานของสมาคม ได้รับยกเว้นภาษีหรือไม่
เงินกองทุนสะสมของพนักงาน ถือเป็นรายจ่าย ในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
การทำบัญชีและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ถูกต้อง
บริษัทให้รางวัลสมนาคุณแก่ลูกค้าที่ขายสินค้าของบริษัทได้สูง ถือเป็นรายจ่ายกำไรสุทธิ ได้หรือไม่
บริษัทเป็นผู้ส่งข้าวไปจำหน่ายต่างประเทศ มีความผูกพันต้องส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ถือเป็นรายจ่ายกำไรสุทธิได้หรือไม่
ค่าใช้จ่ายให้ตัวแทนย่อย ไปดูงานการผลิตและจำหน่ายในต่างประเทศถือเป็นรายจ่ายกำไรสุทธิได้หรือไม่
บริษัทจัดจับฉลากชิงโชคเป็นของรางวัล ถือเป็นรายจ่ายกำไรสุทธิได้หรือไม่
บริษัทจะนำรายจ่ายค่าไฟฟ้าเป็นชื่อของผู้รับเหมา มาเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
ค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่บริษัทจ่ายแทนลูกจ้างของบริษัท ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เมื่อบริษัทนำทรัพย์สินของบุคคลอื่นมาใช้ในกิจการ ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณสิทธิ ได้หรือไม่
วางแผนภาษีแพทย์และโรงพยาบาลเอกชน
การทำบัญชีนิติบุคคลอาคารชุดให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีธุรกิจนำเข้า-ส่งออกให้ถูกต้อง
การทำบัญชีธุรกิจบริการให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีสมาคมให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีโรงเรียนเอกชนสำหรับผู้ประกอบการอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีมูลนิธิให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
รถยนต์ที่เช่าซื้อมาแม้ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ จะหักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาได้หรือไม่
ดินที่ซื้อมาถมในที่บริษัทเช่าถือเป็นรายจ่ายในปีที่จ่ายได้หรือไม่
รายจ่ายค่าซ่อมถนนให้คงสภาพเดิมถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
สรุป ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบการ SMEs
เงินกินเปล่าที่ผู้เช่าจ่ายให้ผู้ให้เช่า ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
การทำบัญชีสำหรับผู้ประกอบการอย่างมืออาชีพ
รถยนต์ที่เช่าซื้อมาแม้ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ จะหักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาได้หรือไม่
ดอกเบี้ยซื้อและติดตั้งเครื่องจักรเป็นการลงทุนหรือค่าใช้จ่ายหารายได้
ดอกเบี้ยเงินเบิกเกินบัญชีที่บริษัทนำมาให้ชาวประมงกู้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย
ทรัพย์สินที่สร้างขึ้นใหม่แทนทรัพย์สินเดิมถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
รายจ่ายตอบแทนคุณความดีพนักงาน “ สตาฟ รีไทเมนต์ เบเนฟิต “ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
ค่าติดตั้งเครื่องจักร ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนหรือไม่
ค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขายต้องห้ามตามมาตรา 65ตรี(3)แห่งประมวลรัษฎากร
ความหมาย “ รายจ่ายอันมีลักษณะการลงทุน "
กรณีการก่อสร้างอาคารแล้วยกกรรมสิทธิ์ให้เจ้าของที่ดิน
บริษัทจัดตั้งกองทุนสะสม และจ่ายเงิน เข้าบัญชีพนักงาน และพนักงานเบิกใช้ ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่บริษัทจัดตั้ง บริษัทจ่ายสมทบให้ บริษัทจะเบิกจ่ายมาใช้ส่วนตัวได้หรือไม่
ค่านายหน้าค้างจ่าย ที่ค้างมานานหลายรอบระยะเวลาบัญชีจะมีปัญหาหรือไม่
ความสำคัญการตรวจสอบบัญชีสำหรับธุรกิจ SME
เมื่อผู้ขายไม่ออกใบเสร็จรับเงินในการซื้อสินค้า จะใช้อะไรเป็นหลักฐานในการลงบัญชีรายจ่าย
ใบเสร็จรับเงินมีรายการไม่ครบถ้วนใช้เป็นค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากรได้หรือไม่
บริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้พนักงาน ถือเป็นรายจ่ายคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
ใบเสร็จรับเงินมีรายการไม่ครบถ้วนใช้เป็นค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากรได้หรือไม่
ใบส่งของที่ไม่มีลายมือชื่อผู้รับเงินจะนำมาหักเป็นรายจ่ายไม่ได้
ดอกเบี้ยจ่ายให้ผู้ว่าจ้าง ถือเป็นรายจ่ายเพื่อประกอบกิจการได้
ดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดจากการซื้อสินค้าถือเป็นค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากรได้หรือไม่
ค่ารับรองพิเศษถือเป็นค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากรได้หรือไม่
การนำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี
การจ่ายส่วนลดจ่ายในการส่งเสริมการขาย
การจ่ายเงินรางวัลพนักงาน
เมื่อกิจการมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานนอกสถานที่ จะมีแนวปฏิบัติอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ
เมื่อผู้รับจ้างมีรายรายได้และรายได้ถึงเกณฑ์นำส่งภาษีประจำปีแต่ไม่ยื่นแบบนำส่งภาษีจะเกิดอะไรขึ้น
จ้างพนักงานบัญชีประจำบริษัทหรือจ้างสำนักงานบัญชี แบบไหนดีกว่ากัน?
ทำบัญชีและเสียภาษีอย่างไรให้ถูกต้องเมื่อคิดจะเปิดร้านขายของออนไลน์
กรณีนิติบุคคลจ่ายเงินค่าจ้างให้ผู้รับจ้าง จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร
ขั้นตอนที่จะทำให้พ่อค้าแม่ขายออนไลน์ทำบัญชีได้อย่างถูกต้องหายห่วง
5 เคล็ดลับการทำบัญชีวัด ให้ถูกต้อง โปร่งใส และตรวจสอบได้
3 ประเด็นที่ทำให้ธุรกิจ SMEs วางแผนการเงินพลาด
เทคนิควิเคราะห์งบการเงิน 4 ด้านสำหรับธุรกิจSME
การสอบทานการทำบัญชีนั้นสำคัญ! การทำบัญชีให้ถูกต้องและมีคุณภาพสำหรับกิจการ SMEs
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีผู้จ่ายเงินออกภาษีแทนให้ให้ผู้รับเงิน
การวางแผนภาษีแพทย์ (คุณหมอ)
ดอกเบี้ยหรือเงินปันผลจากต่างประเทศจะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่
กิจการที่จ่ายค่าใช้จ่ายการต่อเติมอาคารแทนการจ่าค่าเช่าจะปฎิบัติอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ
หลักเกณฑ์การตัดสินค้าชำรุดเสียหายต้องทำอย่างไรเพื่อให้สรรพากรยอมรับ
สินค้าคงเหลือขาดหายจากบัญชีคุมสินค้าจะปฏิบัติอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ
เงินกองทุนสะสมของพนักงานที่โอนมาจากบริษัทเดิมไม่เป็นเงินได้จากการประกอบกิจการ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม Value Added Tax หรือ VAT คืออะไร ใครมีหน้าที่เสียใครได้รับยกเว้น
ผลกระทบของการไม่ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี สำหรับผู้รับจ้างทำงานให้และการจ่ายเงินค่าบริการ
ทำบัญชีอย่างไรให้ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร
การทำบัญชียุค กรมสรรพากรขับเคลื่อนกลยุทธ์ D2RIVE Digital Transformation Data Analytics Revenue Collection Value และ Efficiency
การทำบัญชีเมื่อกรมสรรพากร เชื่อมโยงข้อมูลกับสำนักงานประกันสังคม
บริการรับทำ และดูแลการทำบัญชีในยุคดิจิตอล
การทำบัญชีธุรกิจซื้อ-ขายสินค้า/บริการออนไลน์ให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ระบบดิจิทัล
การวางแผนการเงินและบัญชี สำหรับธุรกิจ SMEs สู้วิกฤติ COVID-19
เทคนิค การวางแผนภาษี และการทำบัญชี สำหรับธุรกิจ เทคโนโลยีดิจิทัล
เทคนิคการทำบัญชีให้ถูกกต้อง สู่เศรษฐกิจดิจิตอล
การทำบัญชี ยุค Work from Home
บริการรับทำ และดูแลการทำบัญชีในยุคดิจิตอล
การจัดจัดทำบัญชีสมาคม/มูลนิธิ
การทำบัญชีโรงเรียนเอกชนให้ถูกต้อง
การวางระบบบัญชีโรงเรียนเอกชน
การทำบัญชีนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร/อาคารชุด
การจ่ายโบนัสหรือค่าตอบแทน
การจ่ายเงินรางวัลให้แก่พนักงาน
Big Data และ Data Analytic ของกรมสรรพากร
ทำไม ธุรกิจ SMEs ถึงต้องทำบัญชีเล่มเดียว ให้ถูกต้อง