ReadyPlanet.com
ข่าวสาร
หนังสือรับรองสำนักงานบัญชีคุณภาพ
dot

dot
dot
dot


สรุป ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบการ SMEs

 


 

สรุป ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบการ SMEs

 

ฐานภาษีในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล

   ผู้ประกอบการ SME ที่ประกอบกิจการในรูปแบบของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล SMEs (ภ.ง.ด.51 , ภ.ง.ด.50)

   SMEsที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาทและมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการไม่เกิน 30 ล้านบาท ภายในรอบระยะเวลาบัญชี

 

นิติบุคคล

กำไรสุทธิ ( บาท )

อัตราภาษี ( ร้อยละ )

SMEsที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท

0 - 300,000

ยกเว้น

และมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการไม่เกิน 30 ล้าน

300,001- 3 ล้าน

15

ภายในรอบระยะเวลาบัญชี

มากกว่า 3 ล้านบาท

20

 

 

ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (ภ.ง.ด.51)

หลักการหากำไรสุทธิเพื่อคำนวณภาษี

  1. กำไรสุทธิที่เกิดขึ้นจริงในรอบ 6 เดือนแรก นับแต่วันเริ่มต้นของรอบระยะเวลาบัญชี
  2. กำไรสุทธิที่เกิดจากการประมาณการโดยใช้เกณฑ์สิทธิ

 

วิธีคำนวณภาษี

กึ่งหนึ่งของกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นจริง หรือกำไรสุทธิที่เกิดจากประมาณการ X อัตราภาษีเงินได้

 

ข้อสังเกต

  1. ประมาณการกำไรสุทธิขาดไป เกินกว่าร้อยละ 25 จะต้องเสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 20 ของภาษีจากกำไรสุทธิ

       ที่ประมาณการขาดไป

  1. ขาดทุนสุทธิหรือไม่มีรายได้ก็ต้องยื่นแบบฯ

   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นใหม่และมีรอบระยะเวลาบัญชีแรกน้อยกว่า 12 เดือนไม่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

 

 

ภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี (ภ.ง.ด.50)

หลักการหากำไรสุทธิเพื่อคำนวณภาษี

กำไรสุทธิที่เกิดขึ้นจริงของรอบระยะเวลาบัญชีโดยใช้เกณฑ์สิทธิ

 

วิธีคำนวณภาษี

กำไรสุทธิ X อัตราภาษีเงินได้

 

ข้อสังเกต

  1. ในการนำส่งภาษีใช้งบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พร้อมกับแบบ ภ.ง.ด.50
  2. ขาดทุนสุทธิหรือไม่มีรายได้ก็ต้องยื่นแบบฯ
  3. สามารถนำภาษีที่ชำระแล้ว ตามแบบ ภ.ง.ด.51 และภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายมาหักออกจากภาษีที่ต้องชำระได้

 

สถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล

(ภ.ง.ด.51 , ภ.ง.ด.50)

 1. ยื่นแบบได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่

      - ภ.ง.ด.51 .ยื่นแบบภายใน 2 เดือน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี

      - ภ.ง.ด.50 ยื่นแบบภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

                                 

 2. ยื่นแบบผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเว็บไซต์ www.rd.go.th

       - ภ.ง.ด.51ยื่นแบบภายใน 2 เดือน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี

         ได้รับสิทธิขยายเวลาการยื่นแบบ และชำระภาษีออกไปเป็นภายใน 2 เดือน 8 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี

       - ภ.ง.ด.50 ยื่นแบบภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ได้รับสิทธิขยายเวลาการยื่นแบบ และชำระภาษีออกไปภายใน 158 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

 

การชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล

  1. การชำระภาษีสำหรับแบบที่ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา

         1.1. เงินสด

         1.2. เช็คหรือแคชเชียร์เช็ค เช็คทุกประเภทสั่งจ่ายแก่ “กรมสรรพากร”และขีดฆ่าคำว่า “ผู้ถือ” ออก

         1.3. บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตร Tax Smart Card (เฉพาะสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่มีเครื่องรูดบัตร)

 

  1. การชำระภาษีสำหรับแบบที่ยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต

         2.1. ชำระแบบเชื่อมต่อไปยังระบบชำระเงินของธนาคารโดยตรง

                - E – Payment

                - ATM Internet (ATM บนอินเทอร์เน็ต)

                - Internet Credit Card (บัตรเครดิตบนอินเทอร์เน็ต)

 

         2.2. ชำระด้วยชุดชำระเงิน (Pay in Slip) หรือด้วย QR Code & Barcode

                -  Counter Service (ธนาคารที่เข้าร่วมโครงการยื่นแบบ , ไปรษณีย์ 7-Eleven , Tesco Lotus , Big C และ TrueMoney)

                -  ATM

                - Internet Banking

                - Tele Banking

                -  Phone Banking

                -  Mobile Banking

                -  Tax Smart Card

 

บทกำหนดโทษ

ภ.ง.ด.51

   1. กรณีไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 หรือไม่ยื่นภายในกำหนดเวลา และมีภาษีต้องเสียต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของเงินภาษีที่ต้องชำระ

   2. กรณีไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 หรือไม่ยื่นภายในกำหนดเวลาเว้นแต่จะแสดงว่า ได้มีเหตุสุดวิสัย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

   3. กรณียื่นรายการและชำระภาษีจากประมาณการกำไรสุทธิโดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่มีเหตุอันสมควรต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของภาษีที่ชำระไว้ขาด

   4. เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 พร้อมยื่นบัญชีโดยมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตหรือผู้สอบบัญชีอากร แล้วแต่กรณี ตรวจสอบและรับรอง ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีพร้อมกับชำระภาษี (ถ้ามี) โดยนำส่งภาษีที่ชำระไว้ตาม ภ.ง.ด.51 มาหักออกก่อน

 

ภ.ง.ด.50

   1. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ชำระภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีจะต้องคำนวณ และชำระเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน)ของเงินภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติม ทั้งนี้ ให้คำนวณเงินเพิ่มเป็นรายเดือน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบฯจนถึงวันยื่นแบบฯ และชำระภาษี แต่ไม่เกินจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติม

   2. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นแบบฯตามมาตรา 17 ประกอบมาตรา 68 แห่งประมวลรัษฎากรและไม่ยื่นบัญชีตามมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวอาจต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 4,000 บาท (มาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร)

 

ข้อมูล

        จากคู่มือภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบการ SMEs  กรมสรรพากร

 

  บริษัท บัญชีสยามออนไลน์ จำกัด

รับจดทะเบียนบริษัท รับทำบัญชี ด้วยโปรแกรมบัญชีออนไลน์ รับตรวจสอบบัญชี

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

02-9640061, 02-9640062

065-449-1925, 096-656-9162

 เว็บไซต์:

   บริษัท บัญชีสยามออนไลน์ จำกัด

   http://www.atsaccounting.co.th/หรือhttps://buncheesiam.com/ 

   บริษัท กล่องทองการบัญชี จำกัด

   https://www.goldboxacct.com/

 

 




บทความวิชาการบัญชี

วิธีทำบัญชีขายของออนไลน์อย่างถูกต้อง ป้องกันการเรียกตรวจสอบภาษีจากกรมสรรพากร
การวางแผนทำบัญชีเพื่อเสียภาษีคริปโตเคอร์เรนซี่หรือโทเคนดิจิทัล ปี 2567
ตรวจสอบบัญชีประจำปีแล้วดีอย่างไร ?
การซื้อทรัพย์สินและรายจ่ายเกี่ยวกับการซื้อหรือขายทรัพย์สินในส่วนที่เกินปกติโดยไม่มีเหตุอันสมควร
เงินที่บริษัทส่งไปสมทบให้บริษัทในต่างประเทศซึ่งร่วมลงทุนถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
ผลขาดทุน จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
บริษัทตัวแทนในต่างประเทศได้ทดลอง จ่ายค่าจ้าง และภาษีไปก่อน ค่าใช้จ่ายดังกล่าวถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
รายจ่ายก่อนตั้งบริษัท ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
ภาษีเงินได้ที่ออกให้พนักงานในต่างประเทศ ถือเป้นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
ภาษีซื้อที่เกิดจากการเช่าสำนักงาน ถือเป็นภาษีซื้อของบริษัทได้หรือไม่
การทำบัญชีในยุค AI: บทความแนะนำสำหรับเจ้าของธุรกิจออนไลน์
การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้
เงินอุดหนุนที่องค์กรต่างๆให้มาเพื่อช่วยเหลืองานของสมาคม ได้รับยกเว้นภาษีหรือไม่
เงินกองทุนสะสมของพนักงาน ถือเป็นรายจ่าย ในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
การทำบัญชีและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ถูกต้อง
บริษัทให้รางวัลสมนาคุณแก่ลูกค้าที่ขายสินค้าของบริษัทได้สูง ถือเป็นรายจ่ายกำไรสุทธิ ได้หรือไม่
บริษัทเป็นผู้ส่งข้าวไปจำหน่ายต่างประเทศ มีความผูกพันต้องส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ถือเป็นรายจ่ายกำไรสุทธิได้หรือไม่
ค่าใช้จ่ายให้ตัวแทนย่อย ไปดูงานการผลิตและจำหน่ายในต่างประเทศถือเป็นรายจ่ายกำไรสุทธิได้หรือไม่
บริษัทจัดจับฉลากชิงโชคเป็นของรางวัล ถือเป็นรายจ่ายกำไรสุทธิได้หรือไม่
บริษัทจะนำรายจ่ายค่าไฟฟ้าเป็นชื่อของผู้รับเหมา มาเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
ค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่บริษัทจ่ายแทนลูกจ้างของบริษัท ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เมื่อบริษัทนำทรัพย์สินของบุคคลอื่นมาใช้ในกิจการ ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณสิทธิ ได้หรือไม่
วางแผนภาษีแพทย์และโรงพยาบาลเอกชน
การทำบัญชีนิติบุคคลอาคารชุดให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีธุรกิจนำเข้า-ส่งออกให้ถูกต้อง
การทำบัญชีธุรกิจบริการให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีสมาคมให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีโรงเรียนเอกชนสำหรับผู้ประกอบการอย่างมืออาชีพ
การทำบัญชีมูลนิธิให้ถูกต้องอย่างมืออาชีพ
รถยนต์ที่เช่าซื้อมาแม้ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ จะหักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาได้หรือไม่
ดินที่ซื้อมาถมในที่บริษัทเช่าถือเป็นรายจ่ายในปีที่จ่ายได้หรือไม่
รายจ่ายค่าซ่อมถนนให้คงสภาพเดิมถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
เงินกินเปล่าที่ผู้เช่าจ่ายให้ผู้ให้เช่า ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
การทำบัญชีสำหรับผู้ประกอบการอย่างมืออาชีพ
รถยนต์ที่เช่าซื้อมาแม้ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ จะหักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาได้หรือไม่
ดอกเบี้ยซื้อและติดตั้งเครื่องจักรเป็นการลงทุนหรือค่าใช้จ่ายหารายได้
ดอกเบี้ยเงินเบิกเกินบัญชีที่บริษัทนำมาให้ชาวประมงกู้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย
ทรัพย์สินที่สร้างขึ้นใหม่แทนทรัพย์สินเดิมถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
รายจ่ายตอบแทนคุณความดีพนักงาน “ สตาฟ รีไทเมนต์ เบเนฟิต “ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
ค่าติดตั้งเครื่องจักร ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนหรือไม่
ค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขายต้องห้ามตามมาตรา 65ตรี(3)แห่งประมวลรัษฎากร
ความหมาย “ รายจ่ายอันมีลักษณะการลงทุน "
กรณีการก่อสร้างอาคารแล้วยกกรรมสิทธิ์ให้เจ้าของที่ดิน
บริษัทจัดตั้งกองทุนสะสม และจ่ายเงิน เข้าบัญชีพนักงาน และพนักงานเบิกใช้ ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่บริษัทจัดตั้ง บริษัทจ่ายสมทบให้ บริษัทจะเบิกจ่ายมาใช้ส่วนตัวได้หรือไม่
ค่านายหน้าค้างจ่าย ที่ค้างมานานหลายรอบระยะเวลาบัญชีจะมีปัญหาหรือไม่
ความสำคัญการตรวจสอบบัญชีสำหรับธุรกิจ SME
เมื่อผู้ขายไม่ออกใบเสร็จรับเงินในการซื้อสินค้า จะใช้อะไรเป็นหลักฐานในการลงบัญชีรายจ่าย
ใบเสร็จรับเงินมีรายการไม่ครบถ้วนใช้เป็นค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากรได้หรือไม่
บริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้พนักงาน ถือเป็นรายจ่ายคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่
ใบเสร็จรับเงินมีรายการไม่ครบถ้วนใช้เป็นค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากรได้หรือไม่
ใบส่งของที่ไม่มีลายมือชื่อผู้รับเงินจะนำมาหักเป็นรายจ่ายไม่ได้
ดอกเบี้ยจ่ายให้ผู้ว่าจ้าง ถือเป็นรายจ่ายเพื่อประกอบกิจการได้
ดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดจากการซื้อสินค้าถือเป็นค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากรได้หรือไม่
ค่ารับรองพิเศษถือเป็นค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากรได้หรือไม่
การนำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี
การจ่ายส่วนลดจ่ายในการส่งเสริมการขาย
การจ่ายเงินรางวัลพนักงาน
เมื่อกิจการมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานนอกสถานที่ จะมีแนวปฏิบัติอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ
เมื่อผู้รับจ้างมีรายรายได้และรายได้ถึงเกณฑ์นำส่งภาษีประจำปีแต่ไม่ยื่นแบบนำส่งภาษีจะเกิดอะไรขึ้น
จ้างพนักงานบัญชีประจำบริษัทหรือจ้างสำนักงานบัญชี แบบไหนดีกว่ากัน?
ทำบัญชีและเสียภาษีอย่างไรให้ถูกต้องเมื่อคิดจะเปิดร้านขายของออนไลน์
กรณีนิติบุคคลจ่ายเงินค่าจ้างให้ผู้รับจ้าง จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร
ขั้นตอนที่จะทำให้พ่อค้าแม่ขายออนไลน์ทำบัญชีได้อย่างถูกต้องหายห่วง
5 เคล็ดลับการทำบัญชีวัด ให้ถูกต้อง โปร่งใส และตรวจสอบได้
3 ประเด็นที่ทำให้ธุรกิจ SMEs วางแผนการเงินพลาด
เทคนิควิเคราะห์งบการเงิน 4 ด้านสำหรับธุรกิจSME
การสอบทานการทำบัญชีนั้นสำคัญ! การทำบัญชีให้ถูกต้องและมีคุณภาพสำหรับกิจการ SMEs
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีผู้จ่ายเงินออกภาษีแทนให้ให้ผู้รับเงิน
การวางแผนภาษีแพทย์ (คุณหมอ)
ดอกเบี้ยหรือเงินปันผลจากต่างประเทศจะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่
กิจการที่จ่ายค่าใช้จ่ายการต่อเติมอาคารแทนการจ่าค่าเช่าจะปฎิบัติอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ
หลักเกณฑ์การตัดสินค้าชำรุดเสียหายต้องทำอย่างไรเพื่อให้สรรพากรยอมรับ
สินค้าคงเหลือขาดหายจากบัญชีคุมสินค้าจะปฏิบัติอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ
เงินกองทุนสะสมของพนักงานที่โอนมาจากบริษัทเดิมไม่เป็นเงินได้จากการประกอบกิจการ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม Value Added Tax หรือ VAT คืออะไร ใครมีหน้าที่เสียใครได้รับยกเว้น
ผลกระทบของการไม่ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี สำหรับผู้รับจ้างทำงานให้และการจ่ายเงินค่าบริการ
ทำบัญชีอย่างไรให้ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร
การทำบัญชียุค กรมสรรพากรขับเคลื่อนกลยุทธ์ D2RIVE Digital Transformation Data Analytics Revenue Collection Value และ Efficiency
การทำบัญชีเมื่อกรมสรรพากร เชื่อมโยงข้อมูลกับสำนักงานประกันสังคม
บริการรับทำ และดูแลการทำบัญชีในยุคดิจิตอล
การทำบัญชีธุรกิจซื้อ-ขายสินค้า/บริการออนไลน์ให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ระบบดิจิทัล
การวางแผนการเงินและบัญชี สำหรับธุรกิจ SMEs สู้วิกฤติ COVID-19
เทคนิค การวางแผนภาษี และการทำบัญชี สำหรับธุรกิจ เทคโนโลยีดิจิทัล
เทคนิคการทำบัญชีให้ถูกกต้อง สู่เศรษฐกิจดิจิตอล
การทำบัญชี ยุค Work from Home
บริการรับทำ และดูแลการทำบัญชีในยุคดิจิตอล
การจัดจัดทำบัญชีสมาคม/มูลนิธิ
การทำบัญชีโรงเรียนเอกชนให้ถูกต้อง
การวางระบบบัญชีโรงเรียนเอกชน
การทำบัญชีนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร/อาคารชุด
การจ่ายโบนัสหรือค่าตอบแทน
การจ่ายเงินรางวัลให้แก่พนักงาน
Big Data และ Data Analytic ของกรมสรรพากร
ทำไม ธุรกิจ SMEs ถึงต้องทำบัญชีเล่มเดียว ให้ถูกต้อง
การทำบัญชีและการวางแผนภาษีขายของออนไลน์ ในรูปบุคคลธรรมดาให้ถูกต้อง